คอมพิวเตอร์ 101 (ฮาร์ดแวร์)

ก่อนจะไปรู้จักกับควอนตัมคอมพิวเตอร์ เรามารู้จักกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันกันก่อน บทความนี้ต้องการให้ผู้อ่านทราบว่าคอมพิวเตอร์ มือถือ แทปเล็ตหรือเครื่องคำนวณต่างๆ (ในที่นี้เรียกรวมกันเลยว่า คอมพิวเตอร์) ที่ใช้งานกันอยู่ ทำงานได้อย่างไร แน่นอนว่าการที่คนเราใช้คอมพิวเตอร์ได้ เกิดจากส่วนประกอบหลัก 2ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ดังนั้น บทความ COMP101 ขอแบ่งเป็น 2 ตอนด้วย เริ่มจากตอนที่ท่านอ่านอยู่นี้ ตอนฮาร์ดแวร์ ตอนหน้ามาเจอกันในเรื่องของ ซอฟต์แวร์ สำหรับฮาร์ดแวร์ คงต้องเริ่มจากคำว่า สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การที่จะเรียกสิ่งหนึ่งว่าเป็นคอมพิวเตอร์ได้นั้นต้องประกอบจาก 3 ส่วนหลัก ดังแสดงในรูปที่ 1 [(1) CPU ⇔ (2) Memory ⇔(3) I/O] ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีว่า Central Processing Unit(CPU) หรือหน่วยประมวลผล เปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการเข้าใจการทำงานของ CPU ก็เปรียบเสมือนได้เข้าใจหัวใจหลักของการทำงานของคอมพิวเตอร์แล้ว ดังนั้นบทความนี้จะเน้นการทำความเข้าใจกับ CPU เป็นหลักก่อน แต่แน่นอนว่ามันยังไม่ทั้งหมด ยังมีหน่วยความจำ (Main Memory Unit) และหน่วยติดต่ออินพุตเอาต์พุต (I/O […]

Site Default

04/08/2019

ควอนตัม 101

ปัจจุบันเราต้องยอมรับว่าคำว่า “ควอนตัม” นั้นเป็นคำนิยมเพราะถูกใช้มากมายไม่ว่าจะเป็น สินค้า โฆษณา ภาพยนต์ต่างๆ หรือแม้แนวปาฎิหาริย์ !! ดังนั้นจุดหมายของบทความนี้ต้องการให้ความรู้แบบพื้นฐานเท่าที่จำเป็นสำหรับบุคคลทั่วไปเพื่อให้เข้าใจว่าเจ้าคำว่า “ควอนตัม” ในเชิงวิทยาศาสตร์นั้นหมายถึงอะไร แล้วทำไมปัจจุบันนี้คำนี้จึงได้ถูกนำมาใช้อย่างมากมาย  ก่อนอื่นเราอาจจะทำเป็นต้องทำความเข้าใจความหมายของคำว่าควอนตัมก่อน ควอนตัม (Quantum) นั้นมีรากมาจากภาษาละตินจากคำว่า ควอนตัส (Quantus) ซึ่งแปลได้ว่า มีมากเท่าไร ใหญ่เท่าไร ประมาณนี้ คำว่าควอนต้า (Quanta) ซึ่งเป็นพหูพจน์ของคำว่าควอนตัม ในทางฟิสิกส์นั้นหมายถึงองค์ประกอบที่เล็กที่สุดของสิ่งใดๆ คำว่าสิ่งใดๆในที่นี้หมายถึง สิ่งของต่างๆรอบตัวเราหรือแม้กระทั่งตัวเราด้วยนะครับ มนุษย์เรานั้นพิเศษกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆตรงที่ว่าเรารู้จักตั้งคำถามและหาคำตอบ(นั่นทำให้เรามีสิทธิพิเศษมากกว่าสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นๆก็ว่าได้) เราเริ่มตั้งคำถามว่าสรรพสิ่งนั้นประกอบขึ้นมาจากอะไรมานานมากๆ เท่าที่มีบันทึกไว้น่าจะในยุคของกรีกโบราณโดยดีโมคริตุส (Democritus) ซึ่งมีชิวิตในช่วง 460-370 ปีก่อนคริสตกาล เขาเป็นผู้เสนอว่าจักรวาลนี้ประกอบด้วยอะตอม(แปลว่ามองไม่เห็น)จำนวนมากมายนับไม่ถ้วนและพื้นที่ว่างเปล่า อะตอมตามแนวคิดของดีโมคริตุสเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ไม่สามารถถูกสร้างขึ้นใหม่หรือทำลายลงได้ และอะตอมนั้นมีหลายแบบซึ่งต่างกันเพียงรูปร่างและขนาด อะตอมแต่ละตัวจะเคลื่อนที่ไปทั่วไม่มีหยุด การชนกันระหว่างอะตอมทำให้เกิดสรรพสิ่งรอบตัวและเป็นจักรวาลอย่างที่เราเห็น ในมุมมองของดีโมคริตุส อะตอมที่ประกอบขึ้นมาเป็นน้ำนั้นผิวจะเรียบเพราะน้ำนั้นลื่นไหล ขณะที่อะตอมที่ประกอบเป็นเหล็กนั้นผิวจะมีความหยาบเพื่อยึดเกาะกันได้แน่นหนา เป็นต้น  อย่างไรก็ดี อริสโตเติล(มีชีวิตช่วง 350 ก่อนปีก่อนคริสตกาล)ซึ่งเป็นนักปราชญ์ที่ทรงอิทธิพลอย่างมากในช่วงเวลาของเขานั้นไม่เชื่อในการมีอยู่ของอะตอม เขาเชื่อว่าสรรพสิ่งประกอบกันขึ้นมาจาก ดิน น้ำ ลม ไฟ ดังนั้นแนวคิดเรื่องอะตอมจึงไม่ได้รับความสนใจเป็นเวลา […]

Site Default

25/07/2019

Microsoft ร่วมมือกับ Brilliant.org สร้างคอร์สเรียนออนไลน์เกี่ยวกับการคำนวณเชิงควอนตัม (Quantum Computing)

Microsoft ได้จัดตั้งทีมร่วมกับ Brilliant.org (Brilliant.org เป็นเว็บไซต์ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการคอร์สเรียนออนไลน์ทางด้าน คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์) เพื่อสร้างคอร์สเรียนแบบ Interactive เกี่ยวกับเนื้อหาทางด้านการคำนวณเชิงควอนตัม โดยเนื้อหาในคอร์สเรียนจะถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 33 บท (Chapter) เริ่มต้นด้วยเนื้อหาพื้นฐานเกี่ยวกับการคำนวณเชิงควอนตัม และ ปิดท้ายด้วยการทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ อย่างเช่น Knapsack problem การสร้างแบบจำลองเชิงควอนตัมสำหรับโมเลกุลของ Hydrogen

cryptice

27/06/2019

คอร์สเรียน Introduction to Quantum computing เรียนฟรี ผ่านระบบออนไลน์

คอร์สเรียนนี้ถูกจัดทำขึ้นโดยทีมงานอาจารย์จากมหาวิทยาลัยKeio ประเทศญี่ปุ่น มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ Quantum computing ให้คนทั่วไปได้เข้าใจ เพราะฉะนั้น ก็จะไม่มีเนื้อหาส่วนที่เป็นคณิตศาสตร์มากเท่าไหร่ครับ สำหรับเนื้อหาหลักในคอร์สเรียนนี้จะประกอบไปด้วยเรื่องของการสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ ความรู้เกี่ยวกับ Quantum Computing รวมถึงอธิบายการทำงานของ Quantum Algorithm หลัก ๆ ทีม QuTE ของพวกเรานั้นได้มีบทบาทในการช่วยจัดทำ Subtitle และเนื้อหาที่เป็นภาษาไทยในคอร์สเรียนนี้ด้วย โดยศัพท์ในบางส่วนเรายังคงคำภาษาอังกฤษไว้เพื่อป้องกันการสับสน และ การนำไปค้นหาความรู้เพิ่มเติมได้ หากมีข้อสงสัย หรือต้องการแนะนำ ติชม สามารถติดต่อพวกเราผ่านทาง Facebook ได้เลยครับ สำหรับคอร์สเรียนนี้ถูกเผยแพร่ให้เข้าเรียนได้ฟรีผ่านทางเว็บไซต์ Future Learn ถ้าพร้อมแล้วก็ไปลุยกันได้เลยครับ https://www.futurelearn.com/courses/intro-to-quantum-computing

cryptice

02/04/2019

Intel และ IBM เผยงานวิจัยที่ใช้ Quantum Computing ร่วมกับ AI

สัปดาห์ที่ผ่านมา Intel และ IBM ได้เผยแพร่งานวิจัยที่รวมเอาเทคโนโลยีการคำนวณเชิงควอนตัม (Quantum Computing) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เข้าด้วยกัน ทาง IBM ได้ตีพิมพ์บทความทางวิชาการลงบนวารสารชื่อดังอย่าง Nature ในชื่อ “Supervised learning with quantum enhanced feature spaces” ซึ่งเป็นการพัฒนาและทดสอบอัลกอริทึมเชิงควอนตัม (Quantum Algorithm) สำหรับการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) บนควอนตัมคอมพิวเตอร์ในอนาคตอันใกล้ โดยกลุ่มนักวิจัยที่ตีพิมพ์วารสารนี้ได้ใช้หลักการ Feature Mapping ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ Machine Learning ในการจำแนกข้อมูลที่มีโครงสร้างซับซ้อนสูง ด้วยการใช้วงจร Short-Depth ที่เป็นที่นิยมของควอนตัมคอมพิวเตอร์แบบ Noisy Intermediate Scale Quantum (NISQ) อย่างไรก็ตามงานวิจัยชิ้นนี้ยังไม่ได้แสดงผลประโยชน์ทางควอนตัม เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านฮาร์ดแวร์ของควอนตัมคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โดยในงานวิจัยนี้ใช้เพียง 2 คิวบิทที่สามารถจำลองได้ในคอมพิวเตอร์แบบคลาสสิกทั่วไป แต่การใช้ Feature Mapping ที่ทางกลุ่มนักวิจัยกลุ่มนี้กำลังศึกษาอยู่นั้นอาจจะพัฒนาไปจนสามารถใช้จำแนกข้อมูลที่ซับซ้อนเกินกว่าที่คอมพิวเตอร์แบบคลาสสิกจะจัดการได้ในอนาคต สำหรับงานวิจัยของทาง […]

Unchalisa Taetragool

20/03/2019

นาฬิกาควอนตัม (Quantum Clock)

เวลาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ ในแต่ละวันตารางเวลาบอกเราว่าต้องทำอะไรเมื่อไหร่ ในแต่ละช่วงชีวิตเราค่อยๆเติบโตจากเด็กจนเป็นผู้ใหญ่ เราทุกคนเคลื่อนที่ผ่านเวลา เราเกิด แก่ และตาย พูดได้เลยว่ามนุษย์ทุกคนรู้จักและใกล้ชิดกับแนวคิดเรื่องเวลามากๆ แต่เวลาในสายตาของนักฟิสิกส์ล่ะ เวลาคืออะไรแล้วมันไปเกี่ยวข้องกับควอนตัมฟิสิกส์ได้อย่างไร? เวลามีหน่วยพื้นฐานที่เรียกว่า “วินาที” ซึ่งในมุมมองของนักฟิสิกส์นั้นถือเป็นปริมาณพื้นฐานทางฟิสิกส์ที่สำคัญมากกก(ก ล้านตัว) ถือเป็นหนึ่งในเจ็ดปริมาณพื้นฐาน(หรือที่เราคุ้นหูว่า SI UNIT)ที่ใช้อธิบายทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้ก็ว่าได้ ถ้าเราลองเปิดเข้าเว็บไซต์ Wikipedia.org ในหัวข้อ International System of Units (https://en.wikipedia .org/wiki/International_System_of_Units) ในหมวดของ second เราจะเห็นเขานิยามเวลาหนึ่งวินาทีว่า “The duration of 9192631770 periods of the radiation corresponding to the transition between the two hyperfine levels of the ground state of the caesium-133 atom.” แปลว่า […]

cryptice

16/03/2019

ควอนตัมเอนแทงเกิลเมนต์ (Quantum entanglement)

เกรินนำ เอนแทงเกิลเมนต์ (Entanglement) หากแปรออกมาเป็นไทยจะหมายถึง “ความพัวพัน” ซึ่งฟังแล้วอาจจะงงเข้าไปอีกเมื่อเราเอาเข้าไปร่วมกับคำว่าควอนตัมเป็น “ความพัวพันทางควอนตัม” (Quantum entanglement) จริงๆเพื่อให้สะดวกในการอ่านจะขอใช้คำว่า “ควอนตัมเอนแทงเกิลเมนต์” ตรงๆไปเลย ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีหลายๆอย่างนั้นมีเจ้าควอนตัมแอนแทงเกิลเมนต์เป็นกุญแจพื้นฐานสำคัญอยู่ เช่น การสร้างรหัสเชิงควอนตัม (Quantum key distribution) หรือ ควอนตัมเทเลพอเทชัน (Quantum teleportation) เป็นต้น  วันนี้เราจะพาไปท่องโลกของเจ้าควอนตัมเอนแทงเกิลเมนต์ว่าจุดกำเนิดนั้นมาได้อย่างไร กว่าจะมีถึงวันนี้แนวความคิดได้ผ่านการถกเถียงกันไปมาระหว่างนักฟิสิกส์ชื่อดังหลายๆท่าน และที่สำคัญมันโดนสร้างขึ้นมาเพื่อชี้ให้เห็นว่าควอนตัมนั้นไม่สมบูรณ์แต่กลับกลายเป็นว่าไม่เพียงจะไม่ทำให้ควอนตัมนั้นหยุดการพัฒนาแต่กลับทำให้เรามีความเข้าใจแบบก้าวกระโดดเป็นอย่างมากและในปัจจุบันนั้นความเข้าใจในธรรมชาติพื้นฐานอันแปลกประหลาดนี้ก็กำลังจะออกดอกออกผลให้เราได้เก็บเกี่ยวเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ๆ (ดังที่ได้ยกตัวอย่างข้างต้น) หรือการผนวกแนวความคิดของควอนตัมเองแทงเกิลเมนต์เข้าไปกับฟิสิกส์สาขาอื่นทำให้เกิดมุมมองใหม่ๆ เช่น แนวคิด ER=EPR ในการแก้ปัญหาเรื่องมุมมองที่ขัดแย้งของข้อมูลในหลุมดำ (Black hole information paradox) หรือ แนวคิดที่ว่ากาลอวกาศนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น( Emergence phenomena) จากการมีอยู่ของเอนแทงเกิลเมนต์ เป็นต้น เกมส์ทายถุงเท้า ก่อนที่เราจะไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับควอนตัมเอนแทงเกิลเมนต์จะขอยกสถานะการณ์ต่อไปนี้ให้พิจารณาก่อน ตอนนี้เรามี อลิส บ๊อบ และ อีฟ เป็นเพื่อนกัน(แบบ Friend Zone !!) ทั้ง 3 […]

Site Default

09/03/2019

คุยกับ อ. บำเหน็จ นักฟิสิกส์ไทยฝีมือเยี่ยมยอดทางด้านสมบัติควอนตัมของสสารประหลาด

สวัสดีครับ หายกันไปนานเลยครับ วันนี้ทางทีม QuTE จะพาไปพูดคุยกับ รศ.ดร.บำเหน็จ สุดชมโชม จากภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักฟิสิกส์ไทยฝีมือเยี่ยมหาคนจับยาก อีกทั้งยังเป็น 1 ในนักฟิสิกส์ไทยที่ทำงานบุกเบิกทางด้านสมบัติควอนตัมของสสารประหลาด เช่น แกรฟีน ยังไงเราลองไปความรู้จักอาจารย์กันเลยครับ ขออนุญาตเริ่มต้นด้วยการแนะนำตัวหน่อยครับ เรียนจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอะไร และทำงานวิจัยทางด้านไหนตอนเรียน ผมจบปริญญาเอกฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อประมาณปี 2553 โดยทำวิจัยทางด้านทฤษฎีการขนส่งเชิงควอนตัม(quantum transport) ผ่านรอยต่อวัสดุที่เป็นแม่เหล็กและตัวนำยวดยิ่ง โดยเน้นไปที่วัสดุยุคใหม่ ในช่วงเวลาที่เรียนปริญญาเอก เป็นช่วงแรกๆที่มีการค้นพบวัสดุแกรฟีน (graphene) วัสดุชั้นเดียวของแกรไฟท์ที่ถูกแยกให้อยู่อย่างสเถียรภาพสำเร็จครั้งแรก สมบัติพื้นฐานต่างๆของวัสดุแกรฟีนยังคงต้องการงานวิจัยทั้งทางทดลองและทฤษฎีเพื่อความกระจ่างต่อการนำไปประยุกต์ใช้ต่อยอด งานวิจัยที่ทำในช่วงเรียนปริญญาเอกจึง เป็นการศึกษาสมบัติทางควอนตัมของวัสดุเหล่านี้ เหตุผลที่ทำให้คุณสนใจทำวิจัยทางด้านนี้ ก่อนอื่นต้องบอกว่าเป็นคนที่ชื่นชอบการวิจัยทางด้านทฤษฎีควอนตัมเป็นพิเศษ และมีความสนใจเรื่องฟิสิกส์พลังงานสูงด้วย บังเอิญว่า วัสดุแกรฟีน ซึ่งเป็นวัสดุที่สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายมากชนิดหนึ่ง มีพาหนะเป็นอิเล็กตรอนคล้ายอนุภาคแบบเฟอร์มิออนสัมพัทธภาพหรือดิแรกเฟอร์มิออน(Dirac fermions)จึงทำให้ยิ่งเพิ่มความสนใจ และทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะวิจัยพฤติกรรมทางควอนตัมของดิแรกเฟอร์มิออนในระบบสสารควบแน่น โดยทำวิจัยตั้งแต่เรียนปริญญาเอกมาเรื่อยๆ และขยายงานไปสู่วัสดุชนิดอื่นด้วย เช่น วัสดุสองมิติอื่นๆ และ ฉนวนทอพอโลยี นอกจากนี้ปรากฎการณ์ทางควอนตัมในสสารควบแน่นมีอะไรให้ตื่นเต้นตลอดเวลา เช่น การค้นพบอนุภาคมาจอรานา(Majorana fermion) ในวัสดุที่มีสภาพนำยวดยิ่งและสภาพทอพอโลยีรวมกัน ซึ่งอนุภาคมาจอรานาเป็นอนุภาคที่มีสปิน ½แต่มีตัวมันเองเป็นปฎิยานุภาค […]

Site Default

14/02/2019

คุยกับ อ.ปฏิภาณ อุทยารัตน์ นักฟิสิกส์สุดเก่งหนุ่มไฟแรงจาก มศว

สวัสดีครับ เราหายไปนานเลยคับ ฮาาาา เนื่องจากหยุดปีใหม่เราก็ต้องพักผ่อนครับ เอาละครับเรากลับมาแล้วพร้อมกับบทสัมภาษณ์ของ ผศ.ดร.ปฏิภาณ อุทยารัตน์ นักฟิสิกส์ทฤษฎีหนุ่มไฟแรง เอาล่ะครับเพื่อไม่ให้เสียเวลา เราไปทำความรู้จักกับเขากันเลยครับ 1. รบกวนแนะนำตัวเองหน่อยครับ เรียนจบโทกับเอกที่ไหนครับ  ปัจจุบันทำงานอะไร ผมเรียนจบปริญญาโทและเอกที่ University of California, San Diego (UCSD) โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาชื่อ Ben Kenobi เอ่ย Ben Grinstein ครับ ส่วน UCSD เป็นมหาลัยในเมืองที่ติด Mexico อยู่ทางใต้สุดของรัฐ California เลยมีอาหาร Mexican อร่อยๆกินตลอดเวลาครับ ปัจจุบันผมเป็นอาจารย์อยู่ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)     2. ช่วยอธิบายวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกให้ฟังหน่อยครับ  ตอนปริญญาเอกผมศึกษาเกี่ยวกับ electroweak symmetry breaking ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่าการแตกตัวของสมมาตรแม่เหล็กไฟฟ้าอ่อน (การแปลเป็นภาษาไทยยิ่งทำให้งง) ถ้าจะอธิบายอย่างง่ายๆคือหลักการทางฟิสิกส์ที่เรารู้จักในปัจจุบันเป็นผลมาจากการมีสมมาตรบางอย่างอยู่ในธรรมชาติ เช่นหลักสัมพันธภาพพิเศษเป็นผลมาจากสมมาตรลอเร็นทซ์ (Lorentz symmetry) กฎการอนุรักษ์พลังงาน […]

Site Default

18/01/2019

IBM เปิดตัว Quantum Computer สำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์เป็นที่แรกในโลก!

หลังจากควอนตัมคอมพิวเตอร์ (Quantum Computer) ถูกใช้แก้ปัญหาในแลปวิจัยมาเป็นเวลานาน ล่าสุด ในวันอังคารที่ผ่านมา IBM ได้ทำการเปิดตัวระบบการคำนวณเชิงควอนตัมสำหรับธุรกิจเป็นครั้งแรก ในชื่อ IBM Q System One โดย IBM จะร่วมมือกับภาคธุรกิจ ให้ลูกค้าเชิงพาณิชย์สามารถเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีควอนตัมในการจำลองข้อมูลที่ซับซ้อนขององค์กรได้ IBM Q System One [Courtesy of IBM]

Unchalisa Taetragool

09/01/2019
1 2 3